อยากให้ลูกพูดได้ พูดไว
ทำอย่างไร?
เด็กแต่ละคน
มีพัฒนาการทางการสื่อสาร
และภาษาที่ไม่เท่ากันค่ะ การพัฒนาการที่ว่านี้ จะเร็ว จะช้า
หรือจะดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น สิ่งแวดล้อม หรือ
คนข้างกายน้องค่ะ
และภาษาที่ไม่เท่ากันค่ะ การพัฒนาการที่ว่านี้ จะเร็ว จะช้า
หรือจะดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น สิ่งแวดล้อม หรือ
คนข้างกายน้องค่ะ
หากอยากให้ลูกน้อยของเรา
พูดได้ไวขึ้น มีทักษะทางภาษา
และการสื่อสารที่ดีขึ้น ครูมีวิธีในการกระตุ้นการพัฒนาการ ด้านทักษะการสื่อสาร ที่ทำได้ตั้งแต่แรกเกิด และคุณพ่อคุณแม่ สามารถทำได้ง่ายๆ มาฝากกันค่ะ
และการสื่อสารที่ดีขึ้น ครูมีวิธีในการกระตุ้นการพัฒนาการ ด้านทักษะการสื่อสาร ที่ทำได้ตั้งแต่แรกเกิด และคุณพ่อคุณแม่ สามารถทำได้ง่ายๆ มาฝากกันค่ะ
11 เทคนิค
พัฒนาทักษะสื่อสาร สำหรับ ลุกวัย 0-3 ขวบ
ตอนที่ 1 (1-4 เทคนิค)
ตอนที่ 1 (1-4 เทคนิค)
---------------------------------------------------------
1.ตอบสนองต่อ ท่าทาง การมอง และเสียงของลูก
---------------------------------------------------------
1.ตอบสนองต่อ ท่าทาง การมอง และเสียงของลูก
---------------------------------------------------------
สำหรับบ้านสองภาษา
ถามง่ายๆได้เลยค่ะ ยังไม่จำเป็นต้องจัดเต็มให้ถูก แกรมม่าแต่อย่างใด เช่น “You
want up?” หรือ
“Oh, you want mommy pick you up?”
เมื่อเขาทำเสียงอ้อแอ้
ให้ทำเสียงอ้อแอ้กลับด้วยค่ะ
หรือเมื่อเขาจ้องมาหาเรา ให้มองตาเขาเวลาเราพูดคุยกับเขา
หรือเมื่อเขาจ้องมาหาเรา ให้มองตาเขาเวลาเราพูดคุยกับเขา
การตอบสนองง่ายๆของเราที่เราทำทันทีเลย
จะทำให้เขาจะได้รับความรู้สึกว่า สิ่งที่หนูพยายามบอกพ่อกับแม่นั้น สำคัญนะคะ
และพ่อกับแม่ก็ให้
ความสำคัญกับการพูดคุยกันครั้งนี้กับหนูด้วยจ้ะ
ความสำคัญกับการพูดคุยกันครั้งนี้กับหนูด้วยจ้ะ
การตอบสนองอย่างทันทีต่อท่าทาง
เสียง การมอง ของลูกเรา
จะกระตุ้นให้เขา สร้างการสื่อสารกับเราค่ะ
จะกระตุ้นให้เขา สร้างการสื่อสารกับเราค่ะ
---------------------------------------------------------
2. ตั้งใจคุย และฟังเขาพูด
---------------------------------------------------------
2. ตั้งใจคุย และฟังเขาพูด
---------------------------------------------------------
เมื่อคุณพ่อคุณแม่คุยกับเจ้าตัวเล็ก
อย่าลืมว่า เขาเป็นเด็กเล็กๆนะคะ เขากำลังเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับเราด้วย ฉะนั้น
เราควรให้เวลาเขาบ้าง ในแต่ละครั้งที่เราพยายามสื่อสารกับเขา
การมองตาเขาในระดับที่เท่าๆกับระดับสายตาของเขา
จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาเข้าใจว่า
เรากำลังบอกเขาว่าเราสนใจในสิ่งที่เขากำลังบอกเรา
เวลาจะถามเขา
ให้ถามเป็นคำถามลักษณะเปิดให้ตอบ (open-ended question) เช่น
“หนูคิดว่าวันนี้อากาศจะเป็นอย่างไรน๊า?”
“หนูคิดว่า เมฆลอยไปไหนเอ่ย?”
“เออ ทำไมท้องฟ้าถึงสีเทาล่ะคะ?”
“หนูคิดว่าวันนี้อากาศจะเป็นอย่างไรน๊า?”
“หนูคิดว่า เมฆลอยไปไหนเอ่ย?”
“เออ ทำไมท้องฟ้าถึงสีเทาล่ะคะ?”
บ้านสองภาษา
หากอยากลองถามเรื่องดินฟ้าอากาศ ก็ถามได้นะคะ เช่น
“Do you think how the weather today will be like?”
“Do you think where the cloud goes?”
“Um.. Why is the sky so gray?”
“Do you think how the weather today will be like?”
“Do you think where the cloud goes?”
“Um.. Why is the sky so gray?”
การถามเขาด้วยคำถามแบบนี้บ่อยๆ
ทำให้เขาถูกกระตุ้นที่จะพยายามสื่อสารกลับมาค่ะ ถึงแม้เขาจะอายุน้อยมาก
หลายๆคนอาจจะยังพูดไม่ได้ แต่ ทักษะแรกของการสื่อสารที่เด็กเรียนรู้ คือ การฟัง
นะคะ เด็กจะพูดได้ ก็จากการฟังค่ะ ฉะนั้น วิธีการนี้
จึงเป็นการกระตุ้นการสื่อสารได้ดีจริงๆค่ะ
---------------------------------------------------------
3. ช่วยเขาสร้างทักษะทางภาษา
---------------------------------------------------------
3. ช่วยเขาสร้างทักษะทางภาษา
---------------------------------------------------------
คุณพ่อกับคุณแม่
สามารถพูดประโยคยาวๆ กับเจ้าตัวเล็ก ได้เหมือนกันนะคะ บางที การคุยไปเรื่อยๆ
เหมือนพูดเล่านิทานไปเรื่อยๆ จะทำให้เขาได้ฟังเยอะ และจากการฟังนั้น
เขาจะซึมซับการใช้ของภาษานั้นๆ เข้าไปด้วยค่ะ เช่น
“อ๋อออ ตอนนี้
หนูแกล้งเป็นเจ้าหนอนผีเสื้อน้อยที่หิวสุดๆ ใช่ไหมคะ อยากทานข้าวแล้วสิ......
เจ้าหนอนผีเสื้อ จะทานอะไรดีน๊า.... มาดูสิมีอะไรทานกันได้บ้าง”
“Ohh Now you are pretending
to be a little caterpillar who is so hungry, right? Do you want to eat now?
Umm.. What do you want to eat? Let’s see what is there for you to eat.”
พวกเราทุกคน
เรียนภาษาแม่ (Mother language / First Language) แบบนี้กันทั้งนั้นค่ะ
เป็นวิธีการเรียนภาษาแบบธรรมชาติ ไม่ได้เรียน หลักภาษา (grammar)
ก่อนแต่อย่างใด
การเรียนภาษาแบบนี้ ถึงทำให้เราสามารถใช้มันได้จริงค่ะ
คุณพ่อคุณแม่บ้านสอง(หรือสาม)ภาษา
สามารถสปี้คให้เขาได้ยินได้เลยนะคะ การได้ยินทุกๆวัน
จะทำให้เขาเรียนรู้ภาษานั้นๆได้ค่ะ เด็กสามารถแยกได้ค่ะ ว่าภาษาอะไร คุยกับใคร
ไว้ครูจะมาเขียนถึงเรื่องนี้ในคราวต่อไปนะคะ
---------------------------------------------------------
4.สอนภาษากายให้กับเขา
---------------------------------------------------------
4.สอนภาษากายให้กับเขา
---------------------------------------------------------
ภาษากาย
เช่น การทำหน้ายิ้ม เวลาชอบ หรือถูกใจ การโบกมือบ๊ายบาย เวลาคุณตาคุณยายจะกลับ
หรือ แม้แต่ การเอามือปิดหน้าเวลากลัวลูกบอลโดนหน้า เช่น
“หนูเห็นไหมคะว่า
ปะป๊าเอามือปิดหน้าแล้ว เพราะอะไรทราบไหมคะ
เพราะหนูขว้างลูกบอลแรงค่ะ โดนหน้าปะป๊าเลย ปะป๊าเจ็บค่ะ
หม่ามี๊รู้ว่า หนูขว้างเบาๆกว่านี้ได้นะคะ ไหน ลองดูสิคะ นี่ไง ไม่โดนหน้าปะป๊าแล้ว ปะป๊ายิ้มแล้วค่ะ เก่งมากเลยค่ะ”
เพราะหนูขว้างลูกบอลแรงค่ะ โดนหน้าปะป๊าเลย ปะป๊าเจ็บค่ะ
หม่ามี๊รู้ว่า หนูขว้างเบาๆกว่านี้ได้นะคะ ไหน ลองดูสิคะ นี่ไง ไม่โดนหน้าปะป๊าแล้ว ปะป๊ายิ้มแล้วค่ะ เก่งมากเลยค่ะ”
“You see your daddy covers
his face because you threw the ball very hard at him. He is hurt, my dear.
Please I know you can throw it softer. Let’s try it together? Yes good girl.
You throw it softer, very well. You daddy is smiling now.”
พวกเราสื่อสารด้วยภาษากายมากกว่า
70% เลยนะคะ อีกกว่า 30% เท่านั้นที่เราสื่อสารกันด้วย
ถ้อยคำเขียน หรือคำพูด เพราะฉะนั้น ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการสื่อสารของเขา
ด้วยภาษากายด้วยค่ะ
=================================
เป็นอย่างไรบ้างคะ นี่แค่ 4 เทคนิคแรกนะคะ ลองนำกลับไปทำดูนะคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง
เป็นอย่างไรบ้างคะ นี่แค่ 4 เทคนิคแรกนะคะ ลองนำกลับไปทำดูนะคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง
แล้วมาแชร์ให้ฟังกันบ้างนะคะ
ส่วนคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ที่มีวิธีอื่นๆอีก มาแบ่งปันกันได้นะคะ
หนหน้า อย่าลืมติดตามเทคนิคที่ 5-8 ค่ะ
แล้วพบกันค่ะ
หนหน้า อย่าลืมติดตามเทคนิคที่ 5-8 ค่ะ
แล้วพบกันค่ะ
with love,
KruBow@ParentRangers
KruBow@ParentRangers
www.facebook.com/happyenglish.happylife