Search This Blog

Wednesday, March 30, 2016

11 เทคนิค พัฒนาทักษะสื่อสาร สำหรับ ลุกวัย 0-3 ขวบ ตอนที่ 1 (1-4 เทคนิค)












อยากให้ลูกพูดได้ พูดไว ทำอย่างไร?
เด็กแต่ละคน มีพัฒนาการทางการสื่อสาร 
และภาษาที่ไม่เท่ากันค่ะ การพัฒนาการที่ว่านี้ จะเร็ว จะช้า 
หรือจะดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น สิ่งแวดล้อม หรือ
คนข้างกายน้องค่ะ

หากอยากให้ลูกน้อยของเรา พูดได้ไวขึ้น มีทักษะทางภาษา 
และการสื่อสารที่ดีขึ้น ครูมีวิธีในการกระตุ้นการพัฒนาการ ด้านทักษะการสื่อสาร ที่ทำได้ตั้งแต่แรกเกิด และคุณพ่อคุณแม่ สามารถทำได้ง่ายๆ มาฝากกันค่ะ

11 เทคนิค พัฒนาทักษะสื่อสาร สำหรับ ลุกวัย 0-3 ขวบ
ตอนที่ 1 (1-4 เทคนิค) 

---------------------------------------------------------
1.
ตอบสนองต่อ ท่าทาง การมอง และเสียงของลูก
---------------------------------------------------------


 เมื่อเขายื่นแขนเล็กๆออกมา ขอให้อุ้มเขาหน่อย ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มเขาขึ้น และพูดประโยคง่ายๆกับเขานะคะ เช่น หนูอยากให้แม่อุ้มเหรอคะ
สำหรับบ้านสองภาษา ถามง่ายๆได้เลยค่ะ ยังไม่จำเป็นต้องจัดเต็มให้ถูก แกรมม่าแต่อย่างใด เช่น “You want up?” หรือ “Oh, you want mommy pick you up?”
เมื่อเขาทำเสียงอ้อแอ้ ให้ทำเสียงอ้อแอ้กลับด้วยค่ะ 
หรือเมื่อเขาจ้องมาหาเรา ให้มองตาเขาเวลาเราพูดคุยกับเขา
การตอบสนองง่ายๆของเราที่เราทำทันทีเลย จะทำให้เขาจะได้รับความรู้สึกว่า สิ่งที่หนูพยายามบอกพ่อกับแม่นั้น สำคัญนะคะ และพ่อกับแม่ก็ให้
ความสำคัญกับการพูดคุยกันครั้งนี้กับหนูด้วยจ้ะ
การตอบสนองอย่างทันทีต่อท่าทาง เสียง การมอง ของลูกเรา 
จะกระตุ้นให้เขา สร้างการสื่อสารกับเราค่ะ

---------------------------------------------------------
2.
ตั้งใจคุย และฟังเขาพูด
---------------------------------------------------------












เมื่อคุณพ่อคุณแม่คุยกับเจ้าตัวเล็ก อย่าลืมว่า เขาเป็นเด็กเล็กๆนะคะ เขากำลังเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับเราด้วย ฉะนั้น เราควรให้เวลาเขาบ้าง ในแต่ละครั้งที่เราพยายามสื่อสารกับเขา
การมองตาเขาในระดับที่เท่าๆกับระดับสายตาของเขา จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาเข้าใจว่า เรากำลังบอกเขาว่าเราสนใจในสิ่งที่เขากำลังบอกเรา
เวลาจะถามเขา ให้ถามเป็นคำถามลักษณะเปิดให้ตอบ (open-ended question) เช่น
หนูคิดว่าวันนี้อากาศจะเป็นอย่างไรน๊า?”
หนูคิดว่า เมฆลอยไปไหนเอ่ย?”
เออ ทำไมท้องฟ้าถึงสีเทาล่ะคะ?”
บ้านสองภาษา หากอยากลองถามเรื่องดินฟ้าอากาศ ก็ถามได้นะคะ เช่น
“Do you think how the weather today will be like?”
“Do you think where the cloud goes?”
“Um.. Why is the sky so gray?”
การถามเขาด้วยคำถามแบบนี้บ่อยๆ ทำให้เขาถูกกระตุ้นที่จะพยายามสื่อสารกลับมาค่ะ ถึงแม้เขาจะอายุน้อยมาก หลายๆคนอาจจะยังพูดไม่ได้ แต่ ทักษะแรกของการสื่อสารที่เด็กเรียนรู้ คือ การฟัง นะคะ เด็กจะพูดได้ ก็จากการฟังค่ะ ฉะนั้น วิธีการนี้ จึงเป็นการกระตุ้นการสื่อสารได้ดีจริงๆค่ะ

---------------------------------------------------------
3.
ช่วยเขาสร้างทักษะทางภาษา
---------------------------------------------------------












คุณพ่อกับคุณแม่ สามารถพูดประโยคยาวๆ กับเจ้าตัวเล็ก ได้เหมือนกันนะคะ บางที การคุยไปเรื่อยๆ เหมือนพูดเล่านิทานไปเรื่อยๆ จะทำให้เขาได้ฟังเยอะ และจากการฟังนั้น เขาจะซึมซับการใช้ของภาษานั้นๆ เข้าไปด้วยค่ะ เช่น
อ๋อออ ตอนนี้ หนูแกล้งเป็นเจ้าหนอนผีเสื้อน้อยที่หิวสุดๆ ใช่ไหมคะ อยากทานข้าวแล้วสิ...... เจ้าหนอนผีเสื้อ จะทานอะไรดีน๊า.... มาดูสิมีอะไรทานกันได้บ้าง
“Ohh Now you are pretending to be a little caterpillar who is so hungry, right? Do you want to eat now? Umm.. What do you want to eat? Let’s see what is there for you to eat.”
พวกเราทุกคน เรียนภาษาแม่ (Mother language / First Language) แบบนี้กันทั้งนั้นค่ะ เป็นวิธีการเรียนภาษาแบบธรรมชาติ ไม่ได้เรียน หลักภาษา (grammar) ก่อนแต่อย่างใด การเรียนภาษาแบบนี้ ถึงทำให้เราสามารถใช้มันได้จริงค่ะ
คุณพ่อคุณแม่บ้านสอง(หรือสาม)ภาษา สามารถสปี้คให้เขาได้ยินได้เลยนะคะ การได้ยินทุกๆวัน จะทำให้เขาเรียนรู้ภาษานั้นๆได้ค่ะ เด็กสามารถแยกได้ค่ะ ว่าภาษาอะไร คุยกับใคร ไว้ครูจะมาเขียนถึงเรื่องนี้ในคราวต่อไปนะคะ

---------------------------------------------------------
4.
สอนภาษากายให้กับเขา
---------------------------------------------------------












ภาษากาย เช่น การทำหน้ายิ้ม เวลาชอบ หรือถูกใจ การโบกมือบ๊ายบาย เวลาคุณตาคุณยายจะกลับ หรือ แม้แต่ การเอามือปิดหน้าเวลากลัวลูกบอลโดนหน้า เช่น
หนูเห็นไหมคะว่า ปะป๊าเอามือปิดหน้าแล้ว เพราะอะไรทราบไหมคะ
เพราะหนูขว้างลูกบอลแรงค่ะ โดนหน้าปะป๊าเลย ปะป๊าเจ็บค่ะ
หม่ามี๊รู้ว่า หนูขว้างเบาๆกว่านี้ได้นะคะ ไหน ลองดูสิคะ นี่ไง ไม่โดนหน้าปะป๊าแล้ว ปะป๊ายิ้มแล้วค่ะ เก่งมากเลยค่ะ
“You see your daddy covers his face because you threw the ball very hard at him. He is hurt, my dear. Please I know you can throw it softer. Let’s try it together? Yes good girl. You throw it softer, very well. You daddy is smiling now.”
พวกเราสื่อสารด้วยภาษากายมากกว่า 70% เลยนะคะ อีกกว่า 30% เท่านั้นที่เราสื่อสารกันด้วย ถ้อยคำเขียน หรือคำพูด เพราะฉะนั้น ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการสื่อสารของเขา ด้วยภาษากายด้วยค่ะ

=================================
เป็นอย่างไรบ้างคะ นี่แค่ 4 เทคนิคแรกนะคะ ลองนำกลับไปทำดูนะคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง 
แล้วมาแชร์ให้ฟังกันบ้างนะคะ ส่วนคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ที่มีวิธีอื่นๆอีก มาแบ่งปันกันได้นะคะ
หนหน้า อย่าลืมติดตามเทคนิคที่ 5-8 ค่ะ 
แล้วพบกันค่ะ

with love, 
KruBow@ParentRangers

‪#ParentRangers
==============================
ติดตามเทคนิคการพูดอังกฤษกับครูโบว์เพิ่มเติมได้ที่
www.facebook.com/happyenglish.happylife

‪#พูดอังกฤษได้ชีวิตดี๊ดี
เพราะพูดอังกฤษได้ ชีวิตเปลี่ยน

11 เทคนิค พัฒนาทักษะสื่อสาร สำหรับ ลูกวัย 0-3 ขวบ ตอนที่ 2 (เทคนิค 5-8)



















.........................................................
สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน เทคนิค 1-4 นะคะ แนะนำให้ติดตาม ตอนที่ 1 ได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ
http://krubowsunida.blogspot.com/2016/03/11-0-3-1-1-4.html
.........................................................

อยากให้ลูกพูดได้ พูดไว ทำอย่างไร?
เด็กแต่ละคน มีพัฒนาการทางการสื่อสาร 
และภาษาที่ไม่เท่ากันค่ะ การพัฒนาการที่ว่านี้ จะเร็ว จะช้า 
หรือจะดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น สิ่งแวดล้อม หรือ
คนข้างกายน้องค่ะ

หากอยากให้ลูกน้อยของเรา พูดได้ไวขึ้น มีทักษะทางภาษา 
และการสื่อสารที่ดีขึ้น ครูมีวิธีในการกระตุ้นการพัฒนาการ ด้านทักษะการสื่อสาร ที่ทำได้ตั้งแต่แรกเกิด และคุณพ่อคุณแม่ สามารถทำได้ง่ายๆ มาฝากกันค่ะ
---------------------------------------------------------
5. เคารพ และให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของลูก
---------------------------------------------------------















ธรรมชาติของเด็ก เขาจะชอบแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของเขาตรงๆ
หากเขาไม่ถูกว่า ไม่ถูกล้อ ไม่ถูกตำหนิติเตียน จนเกินไป
เช่น หากเขากลัวการนอนคนเดียว แต่ยังถูกที่บ้านล้อว่า หรือหลอกว่า
“หากไม่ยอมนอน เดี๋ยวผีมากัดนะ” หรือหากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหน
จะเริ่มฝึกให้เขานอนได้เองตั้งแต่ยังเล็ก แล้วโดนล้อว่า “โตป่านนี้ยังขี้กลัวอยู่อีก”
เขาอาจรู้สึกว่ากำลังถูกตำหนิว่าเขาไม่ดี ทำให้เขาไม่กล้าพูด
ไม่กล้าแสดงความรู้สึกของเขาออกมา หรือหากเราหลอกมากไป อาจจะทำให้เขาเป็นคนไม่กล้าไปเลยค่ะ
คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดถึงความรู้สึกที่เขากลัว แต่ให้หลีกเลี่ยงการตำหนิ การดูถูก (ถึงแม้ว่าเราจะมองว่า อาจจะแค่ล้อเล่น แต่บางทีเขาเสียใจนะคะ) แล้วพูดว่า
“คุณแม่รู้นะคะว่าหนูกลัวการเดินเข้าไปในห้องคนเดียว แต่หนูควรเดินเข้าไปหยิบหนังสือของหนูในห้องเองนะคะให้คุณแม่ ยืนเป็นเพื่อนหนูตรงหน้าประตูห้องนะคะ”
บ้านสองภาษา สามารถพูดได้ประมาณนี้นะคะ
“I know you are scared of getting in the room alone,
but you should try to get the book by yourself. Mommy can wait
for you at the door, okay?”
หรือ “คุณพ่อทราบครับว่าหนูโกรธ แต่หนูก็ไม่ควรขว้างของเล่น เอาอย่างนี้นะครับ นี่หมอน
ครับ หากหนูโกรธ จัดการหมอนดู จัดการเสร็จ คุณพ่อจะรออยู่ตรงนี้ครับ”
“I know you are angry, but you still shouldn’t throw your toys out of anger. Here is the pillow. Maybe you can punch the pillow instead. I will wait here.”
การพูดถึงสิ่งที่เขาทำแล้วเราอยากให้เขาเปลี่ยน ประกอบกับการเสนอ ทางออกให้จะทำให้เขารู้สึกว่า เขาได้รับการรับฟังในความรู้สึก และอารมณ์ของเขา และทำจะกระตุ้นให้เขา แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นออกมาด้วยค่ะ

---------------------------------------------------------
6. หมั่นกระตุ้น และพัฒนาคลังคำศัพท์ที่แสดงความรู้สึก
---------------------------------------------------------














เด็กเล็กๆ ก็มีความรู้สึกนะคะ และเมื่อเขารู้สึกอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้คำศัพท์ที่แสดงความรู้สึกต่างๆเหล่านั้นได้นะคะ เช่น
“แม่รู้ว่าหนูเสียใจที่คุณพ่อต้องไปทำงานต่างจังหวัด และจะไม่อยู่หลายวัน”
“I know you are sad because your daddy has to be away
in another province for several days.”
คำว่า เสียใจ หรือ sad เป็นคำแสดงความรู้สึก ซึ่งการความรู้สึกที่ลูกเรารู้สึกนั้น ก็ไม่ได้จะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี มันเป็นแค่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเท่านั้นค่ะ
หลายท่านอาจคิดว่า การที่เราพูดถึงความรู้สึกนั้นๆ อาจทำให้เหตุการณ์ไปกันใหญ่ เช่น น้องอาจรู้สึกเสียใจ หรือร้องไห้มากขึ้น แต่จริงๆแล้ว การที่ทำให้เขาได้แสดงความรู้สึก และมีการให้เหตุผลถึงการมีความรู้สึก
นั้นๆ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เขาปลดปล่อย และระบายความรู้สึกออกมา ทำให้เขาสามารถก้าวข้ามผ่านเหตุการณ์นั้นๆไปได้เป็นอย่างดีค่ะ

---------------------------------------------------------
7. อ่านหนังสือด้วยกัน
---------------------------------------------------------














อีกหนึ่งวิธีที่จะกระตุ้นการทักษะการสื่อสารในเด็กเล็กคือ การอ่านหนังสือไปด้วยกันค่ะ
คุณพ่อคุณแม่และคุณลูก อาจจะนอนใกล้ๆ กันพรอ้มหนังสือเล่มโปรดเป็นกิจวัตรก่อนนอน แล้วดื่มด่ำตัวทุกตัวละครในนิทาน ใช้นิ้ว ชี้ ไปที่ตัวสัตว์ต่างๆ หรือสิ่งของในนิทาน คุยให้เขาฟังว่าเขาชอบตัวไหน เพราะอะไร เจ้าสิงโตตัวใหญ่จะรู้สึกอย่างไร เมื่อเจ้าหนูตัวเล็กมาเดินบนตัวของมัน ขณะที่มันนอนอยู่ แล้วจะมีอะไรเกิดขึ้น
ในการอ่านหนต่อๆไปก็ให้เขาเลือกหนังสือเอง เพื่อเขาจะได้มีส่วนร่วมในการออกความเห็นนะคะ ยิ่งเขาสนุกกับหนังสือมากเท่าไร คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้ใช้เวลาสนุกๆแบบนี้กับเจ้าตัวเล็กไปด้วยนะค
การอ่านหนังสือด้วยกัน นอกจากจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการพัฒนาทางความรู้ และทักษะภาษาแล้ว ยังจะทำให้ลูกน้อยของเราได้รู้ว่า เราให้ความสำคัญต่อความสนใจของเขา และรับรู้ได้ถึงความรักที่เรามีต่อเขาเมื่อยามเราอยู่ใกล้ชิดกัน
ผลงานวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่า ผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านในตอนโต มีการปลูกฝังการอ่านหนังสือให้สนุกให้สนุกในตอนเด็กนั่นเองค่ะ แต่ไม่ว่าจะอ่านอะไร ก็มิได้สำคัญมาไปกว่าความรู้สึกที่เขามีต่อกิจกรรม
การอ่านนั้นๆ นะคะ
---------------------------------------------------------
8. บรรยายขณะที่เราทำกิจวัตรของเราไปด้วย
---------------------------------------------------------














การเรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุดหนึ่งวิธี *ขอย้ำว่า ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไร* คือการที่ทำให้เขาสามารถโยงคำศัพท์ที่ได้ยิน เข้ากับภาพที่เห็น เช่น หากกำลังล้างจานอยู่ เราก็บอกว่า
“คุณแม่กำลังล้างจานอยู่ค่ะ” “Mommy is washing the dishes.”
พอคุณแม่พูดแบบนี้ซ้ำๆ ตอนที่ล้างจานอยู่ กลไกของภาษาในสมองเขา จะจับภาพของสิ่งที่เห็นคู่กันกับเสียงที่ได้ยิน และเก็บเข้าลิ้นชักเดียวกันไว้ค่ะ ต่อไปเมื่อเขาเห็นภาพคุณแม่ล้างจาน เขาก็จะนึกเสียงที่บอกว่า คุณแม่กำลังล้างจานอยู่ หรือหากเขาได้ยินคุณแม่พูดว่ากำลังล้างจาน
สมองเขาก็จะเปิดลิ้นชักที่มีภาพคุณแม่ล้างจานออกมาค่ะ กลไกนี้ เมื่อมีการทำซ้ำๆ ก็จะเป็นการเปิดลิ้นชักได้อย่างอัตโนมัตินะคะ นี่คือวิธีที่ลูก จะเรียนรู้ภาษาใดๆ ในโลกนี้ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่งเลยค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ที่มีคุณลูกช่างพูดอยู่แล้ว อาจทำวิธีนี้ให้เป็นกิจกรรมในครอบครัวไปเลยก็ได้นะคะ
เช่น ถามเขาว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง กระตุ้นและสนับสนุนให้เขาออกความเห็นบ่อยๆ และรู้จักถามบ่อยๆ ก็จะช่วยให้เขามีทักษะการสื่อสารที่พัฒนาได้ดีขึ้นมากๆทีเดียวเลยค่ะ
=================================
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับเทคนิค 5-8 นี้ มีคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ฝึกทำเทคนิคไหนอยู่บ้าน
สามารถเขียนมาแบ่งปันความคิดเห็นกันได้เลยนะคะ
สำหรับสัปดาห์หน้า โปรดติดตามตอนสุดท้ายของ 11 วิธีพัฒนาทักษะสื่อสารลูก 0-3 ขวบได้
กับเทคนิคที่ 9-11 ค่ะ
แล้วพบกันค่ะ

With love,
KruBow@ParentRangers
‪#‎ParentRangers‬
==============================
ติดตามเทคนิคการพูดอังกฤษกับครูโบว์เพิ่มเติมได้ที่
www.facebook.com/happyenglish.happylife

‪#‎พูดอังกฤษได้ชีวิตดี๊ดี‬
เพราะพูดอังกฤษได้ ชีวิตเปลี่ยน

Monday, March 7, 2016

5 เทคนิค จัดเวลาปั้นทักษะภาษาเพื่อลูกรัก (ฉบับพ่อแม่ไม่มีเวลา) ep.1













“พ่อแม่ ต้องไปทำงานนะลูก” 
   “พ่อแม่ไม่มีค่อยเวลา”

สองประโยคจี๊ดหัวใจคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องทำงาน

หมดยุคโลกสวย และถึงเวลาเผชิญหน้ากับความเป็นจริงค่ะ เมื่อ คุณพ่อและคุณแม่ยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ หลายท่านมีเวลาอยู่กับลูกจำกัด และสุดท้ายลูกก็ต้องอยู่กับ ปู่ย่าตายาย ญาติหรือพี่เลี้ยง

หากคุณอยากทำให้ลูกได้สองภาษา แต่ไม่ค่อยมีเวลา ครู มี 5 เทคนิคในการจัดเวลาปั้นทักษะทางภาษาเพื่อลูกรัก มาฝากกัน เราจะมาทำทั้ง 5 เทคนิคนี้ บนพื้นฐานที่ว่า “ทำเวลาที่มี ให้มีค่าที่สุด” (Maximize the Outcome of Your Limited Time)

หากเวลาเป็นปัญหาหลัก คุณพ่อคุณแม่ ต้องรู้จักที่บริหารจัดการสิ่งที่คุณมีอยู่ในมือ และทำให้มันออกผลให้ได้มากที่สุด (Increase Productivity with Existing Resources) ครูหมายถึง หากคุณพ่อคุณแม่มีเวลาจำกัดที่จะอยู่กับลูก เช่น เพียงแค่ ช่วงค่ำหลังเลิกงาน ประมาณ 1-2 ชม.ก่อนลูกนอน นั้น เราต้องใช้มันให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด
==========================================
5 เทคนิค จัดเวลาปั้นทักษะภาษาเพื่อลูกรัก มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1. ตั้งปณิธานว่า ใน 1-2 ชม.นี้ พ่อ-แม่ จะไม่แตะโทรศัพท์
ไม่เล่นไลน์ ไม่หยิบโทรศัพท์มาอัพเดทสเตตัส วางทุกอย่างไว้ในกระเป๋า บนโต๊ะ... และหันมา มองเข้าไปใน “ดวงตา” ของลูกเรา และ “คุย” กับเขา การพูดคุยกับลูก จะทำให้ทั้งลูกและ พ่อ-แม่ รู้จักซึ่งกันและกันมากขึ้น

เด็ก ซึมซับจากการกระทำของพ่อแม่ และคนรอบข้างที่เขาใช้เวลาอยู่ด้วย หากคุณใส่ใจกับเขา เขาจะเรียนรู้ที่จะใส่ใจกับผู้อื่นค่ะ
----------------------
2. เลือกช่วงเวลา 15 นาทีในแต่ละวัน
ที่จะมีกันแค่ พ่อ-ลูก หรือ แม่-ลูก นั่งคุยกัน คุยกันแบบเปิดอกคุย จับมือ กอด หอมแก้ม หากคุณพ่อหรือคุณแม่ท่านไหนเขิน ..ขอให้ทราบไว้ค่ะว่า ทุกอย่างมีครั้งแรกทั้งนั้นนะคะ

การสื่อสารทั้งทางภาษากาย ภาษาใจ ภาษาพูด หรือแม้แต่ภาษาเขียน สามารถสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีจากพ่อแม่ สู่ลูกค่ะ
----------------------
3. ทำกิจกรรมพิเศษ ร่วมกันในเวลาที่มี
หากมี 30 นาที คุณอาจทำเวลานั้นให้เป็น เวลาแห่งโลกนิทาน ให้เขารู้จักเลือกเรื่องที่อยากมาอ่านด้วยกัน (ฝึกการตัดสินใจ การเป็นผู้นำ)

หากคุณมีประมาณครึ่งวัน แค่วันอาทิตย์ ..เป็นครั้งเดียวในทุกๆอาทิตย์ที่คุณจะมีเวลาให้ลูกของคุณ คุณอาจจัดเป็น Sunday Outing หรือ “ไปเที่ยวกัน วันอาทิตย์” แต่ละครั้งอาจไปสถานที่ต่างๆ เช่น ท้องฟ้าจำลอง เขาดิน หรือ อาจพาเขาไปดูกิจกรรมการเรียนรู้นอกเหนือจากวิชาการ เช่น เทควันโด ว่ายน้ำ ทำกับข้าว ร้องเพลง เล่นดนตรี ขึ้นอยู่กับความชอบของเขาเป็นหลัก

คุณพ่อคุณแม่ สามารถช่วยระดมความคิด (Brainstorming) ให้เหตุผลเปรียบเทียบกันในกิจกรรมต่างๆ ว่าเขาน่าเลือกกิจกรรมไหน ก็ได้ค่ะ

การทำให้เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จะทำให้เขาเรียนรู้ที่จะมีหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเองค่ะ
----------------------
4. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของพ่อแม่
คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็ยุ่งเรื่องงานมากอยู่แล้ว วันหยุดสุดสัปดาห์ก็จะเป็นวันสะสางทั้งหลาย เช่น ทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า รีดผ้า หรือแม้แต่การออกไปชำระค่าสาธารณูประโภค การซื้อกับข้าวเข้าบ้าน เป็นต้น

คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรของครอบครัวได้ค่ะ เช่น
♡ ซ่อมไดร์เป่าผมให้คุณแม่ด้วยกันกับคุณพ่อ
♡ ช่วยคุณพ่อหยิบเครื่องมือซ่อมรถ
♡ ช่วยคุณแม่จัดเรียงหนังสือบนชั้น
♡ เก็บผ้าปูที่นอนร่วมกัน
♡ หรือแม้แต่จัดที่นอนก่อนนอนด้วยกัน

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอยู่แล้วเป็นประจำ วิธีนี้ คุณพ่อคุณแม่จะเป็นสุดยอด Time Manager หรือ ผจก.การจัดการเวลาเลยค่ะ กิจวัตรของเราก็เสร็จ (บางทีช้าไปบ้าง) แต่ได้คุยกับลูก ได้สอนเขาถึงหน้าที่รับผิดชอบที่พึงมีต่อตนเอง และครอบครัว

คุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้ที่จะใจ เย็นๆ ลูกจะชอบเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่เราทำ เช่น ชอบมานั่งตักเวลาเห็นเราใช้คอมพิวเตอร์ หรือชอบมา”ช่วยพับผ้า” ไม่ว่าจะช่วยหรือจะป่วน เราสามารถค่อยๆ แบ่งงานง่ายๆ ให้ลูกทำ เท่านี้ เราก็สามารถใช้เวลาที่มีอยู่น้อยนิด ด้วยกันได้แล้วค่ะ สายสัมพันธ์ระหว่าง พ่อแม่ลูก บังเกิดขึ้นแน่นอนค่ะ
----------------------
5. เขียนโน้ตให้ลูก
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกันกับลูกทุกวัน เราก็ Skype หรือ LINE หากันบ้าง แต่หากเราคุยแบบนั้นบ่อยๆ อาจต้องระวังเรื่องลูกติดแท็บเล็ต หรือโทรศัพท์

หากเมื่อไร ที่ตัวเองครูต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อสอนบ่อยๆ ครูจะแอบเขียนโน้ตไว้ในสมุดฝึกทำเลข หรือเอากระดาษโน้ตเล็กๆ มาวาดรูปหัวใจ หรือเขียนสั้นๆว่า “I ♡ you” แล้วสอดไว้ในกระเป๋า แปะไว้บนขวดน้ำดื่ม หรือใส่ไว้ในกล่องดินสอของลูกที่เอาไปโรงเรียน

เมื่อเวลาเขาเห็นโน้ตของเรา เขาจะดีใจมาก เหมือนเล่นเกมส์หาขุมทรัพย์ ขุมทรัพย์นั้น ก็คือ โน้ตเล็กๆ จากใจพ่อและแม่ ....

วันหนึ่ง เขายื่นกระดาษให้ที่พับครึ่งไว้มาให้ แล้วบอกว่า “แม่ขา เดี๋ยวแม่ค่อยอ่านนะคะ” เวลาผ่านไป ครูนึกได้ก็มาเปิดดู มีตัวหนังสือโย้เย้เล็กๆ เขียนแค่ว่า “I ♡ u” ครูหันหลังกลับหาเขาทันที กอดเขาพร้อมน้ำตาเอ่อล้นออกมาจากหัวใจ “Anya, I love you too” ครูกล่าวปิดท้ายไว้ แล้วก็จะจำรอยยิ้มที่สวยที่สุดของลูกในวันนั้นได้ไม่มีวันลืมเลยค่ะ

เราแสดงให้ลูกเราเห็นอย่างไร นั่นแหละ คือสิ่งที่เขาจะเป็น

หากคุณตะโกนใส่เขา เพราะเขาทำอะไรไม่ทันใจคุณ หรือไม่ได้ดั่งใจคุณ วันหนึ่ง เขาก็จะตะโกนใส่คุณหรือคนอื่นๆ แบบที่เขาซึมซับมาจากคุณ

หากคุณแสดงความรักต่อเขา ให้เขาซึมซับมันในทุกอนูของหัวใจเขา วันหนึ่ง เขาก็จะแสดงต่อโลกนี้ให้ได้เห็นว่า เราสามารถแสดงความรัก ความเมตตา ต่อผู้อื่นได้อย่างไร

==========================================
จะเห็นได้ว่า 5 เทคนิคนี้ เป็นการจัดเวลาในแบบที่ทุกคนสามารถลองทำดูได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะทำคู่กันไปกับ “การสร้างสัมพันธ์” อันแน่นแฟ้น ระหว่างพ่อแม่ และลูก

เพราะหากเวลาคุณมีน้อย คุณต้องทำมันให้ มีคุณค่าที่สุดค่ะ

ตอนหน้า ครูจะมาแนะนำเทคนิค การปั้นทักษะภาษาให้ลูก ฉบับ busy mommy & daddy (ฉบับพ่อแม่ติดงาน) ที่เราสามารถทำได้หลังจากเราผันตัวเองเป็น ผจก. การจัดการเวลาเพื่อลูก ค่ะ

See you ^^
KruBow@ParentRangers
Column: ภาษามั่น ปั้นชีวิต กับครูโบว์
===============================================
#ParentRangers
#‎CareRanger‬
‪#‎LearnRanger

Monday, February 22, 2016

7 วิธีบอก Good Night ในภาษาอังกฤษ

นอกจาก Good Night แล้ว เราจะพูดอะไรได้อีก?
 
 
เรากล่าวราตรีสวัสดิ์ได้หลายวิธีนะคะ ลองมาดู 7 วิธีที่กล่าวราตรีสวัสดิ์ได้ค่ะ


 
 
Good night                       (กึ่ด ไนท์)           ราตรีสวัสดิ์

G’night                              (กึ่-ไนท์)             ราตรีสวัสดิ์ (แบบย่อๆ)
 
Night night หรือ nite nite    (ไนท์ ไนท์)        ราตรีสวัสดิ์

  • สามข้อด้านบนนี้ พูดได้ทั้งหมด ไม่มีแบ่งชนชั้นวรรณะ พูดเต็มก็ได้ พูดย่อก็ได้ ไม่ได้มีว่าแบบไหนเป็นทางการไม่เป็นทางการ
  • เวลาเอาไปใช้จริง อาจจะได้ยินว่า บางคนพูดเสียง (เท่อะ) ในการออกเสียงตัว t ที่ท้ายคำอย่างชัดเจน แต่บางคนก็พูดแบบแทบจะไม่ได้ยินเสียง t (เท่อะ) เลยทีเดียวไม่ออกเสียงตัว t หรือประมาณ "เท่อะ" ที่ด้านท้ายคำอย่างที่ปกติเราจะทำกันแบบชัดๆนะคะ
     
คำอื่นๆ ที่สามารถพูดได้หากจะไปนอนแล้ว คือ:
 
Sweet dream                      (สวีทท์ ดรีม)                ฝันดีนะ
 
I'm gonna go to bed.          (อัม กอนน่ะ โก ทู เบด)  จะไปนอนแล้วนะ
 
Sleep tight                          (สลีพป์ ไทท์)       
คำนี้ประมาณว่า อวยให้ผู้ที่จะไปนอน นอนหลับสนิทๆหลับดีๆ เป็นคำที่พูดกันบ่อยๆในภาษาอังกฤษ แต่กรุณาอย่าได้แปลเป็นไทยตรงตัวเป็นอันขาด เพราะคนละภาษา คนละวัฒนธรรม ก็จะมีวิธีการพูดต่างกันออกไปนะคะ ^^

Don't let the bug bite ya.    (ด๊นท์ เลทท์ เด่อะ บัก ไบท์ ยะ)     อย่าให้แมงมากัดนะ (....บอกแล้ว อย่าแปลตรงตัว .. เขาพูดอย่างนี้จริงๆค่า)


*คำว่า Good ปกติเราอ่านว่า (กู้ด)  แต่เมื่อเราพูด Good Night ส่วนใหญ่ เราจะออกเสียงพยางค์แรกเร็วๆค่ะ เราเลยอ่านคำนี้ว่า (กึ่ด ไนท์) 
 
แนะนำเลยค่ะว่า การเร่งความเร็ว (speed) ในการออกเสียงกลุ่มคำ หรือประโยค จะง่ายต่อการออกเสียงมากกว่าการที่เราพยายามพูดช้าๆ ชัดๆ เป็นคำๆ ครูได้แนะวิธี "เนียน" ในการออกเสียงไว้ที่นี่นะคะ ฝึกออกเสียงรวบๆ เร็วๆ จะทำให้ออกเสียงง่ายกว่าค่อยๆ ออกเสี่ยงทีละคำนะคะ
https://www.youtube.com/watch?v=2SyJwqGDWWI


See you next blog :-)
KRUBOW SUNIDA

----------------------------------------------------------------
www.facebook.com/happyenglish.happylife
 

Thursday, February 18, 2016

3 กลยุทธ์ พิชิตคำถามสัมภาษณ์งาน “Tell me about yourself”

มีนักศึกษาท่านหนึ่งซึ่งใกล้จะเป็นบัญฑิตใหม่ ขอคำปรึกษามาว่า เวลาไปสัมภาษณ์งานแล้วเขาถามว่า "Tell me about yourself" เราควรจะตอบว่าอะไร   ลองดูการตอบการสัมภาษณ์ประโยคนี้ ด้วยคำตอบด้านล่างนี้ค่ะ

ผู้สัมภาษณ์:          Tell me about yourself
ผู้สมัครงาน:          I am from Korat and I am married to my husband. I moved to Bangkok to live with him
after our marriage three months ago. We have a new apartment nearby your company. I am now ready to start my work again. In the past I worked many jobs related to customer services and I now I want to work in a good company.

จากคำตอบด้านบน จะเห็นว่า เป็นการบอกเรื่องส่วนตัว มาจากโคราช ย้ายที่อยู่ตามสามีไปอยู่กทม.หลังแต่งงานได้ 3 เดือน เคยทำงานมาแล้วหลายงาน และอยากทำงานในบริษัทที่มั่นคง   หากลองวิเคราะห์ดูอีก ก็จะเกิดคำถามได้อีกว่า:

 -   แล้วถ้าสามีย้ายงาน คุณก็ต้องย้ายตามน่ะสิ (ถ้าจ้างมา เดี๋ยวก็ออก?)
-    ทำงานมาหลายที่ (ทำงานอะไร ทำไมถึงย้าย ทำไมย้ายบ่อย?)
       -   ทำงานด้านการบริการลูกค้า (อย่างไร ไม่ได้เจาะจง ไม่มีตัวอย่าง?)

จะเป็นว่า ผู้สมัครงานไม่ได้พูดถึงว่าตัวเองจะสามารถทำงานอะไรให้นายจ้างได้เลย ผู้สมัครงาน มักจะมองว่า บริษัทจะให้อะไรแต่ตนเองบ้าง  แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้สัมภาษณ์จะมองว่า ทำไม เขาต้องจ้างคุณ  นั่นหมายถึง Would you be an asset to the company? เขาอยากทราบว่าคุณสามารถทำอะไรให้บริษัทได้บ้างต่างหาก

ความลับอยู่ที่ กลยุทธ์ 3 ข้อ พิชิตคำถาม Tell me about yourself คือ  Focus (โฟกัส), Script (สคริ้ปท์) และ Practice (แพร่กทริสส์)


1.  Focusสร้างจุดรวมของสิ่งที่จะพูดให้เกี่ยวกับงานที่กำลังสมัครอยู่โดยการเตรียมการสัมภาษณ์โดยเขียนจุดเด่น (Strength) ของตัวเองที่เกี่ยวกับงานนั้นมา 5 ข้อ ที่เป็นประสบการณ์ หรือทักษะที่คุณมีและสามารถมาปรับใช้กับงานนั้น เช่น อาจมี strength ในการสื่อสาร ถนัดการทำงานกับคน มีประสบการณ์ในการจัดการบริหารลูกค้า การติดตามดูแลลูกค้า และเป็นคนทำงานตามวันกำหนดส่งงาน (deadline)

2.  Script คุณควรจะเริ่มด้วยการเล่าความสำเร็จที่เกี่ยวกับการงาน ในที่นี้ ผู้สมัครจะไปสมัครงานบริการลูกค้า (Customer Service) สิ่งที่เตรียมทั้งหมดก็จะเกี่ยวข้องกันกับตำแหน่งงานที่สมัครนี้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน: ประสบการณ์/ strengths/ สรุป

     ส่วนที่ 1: ประสบการณ์

"I have been in the customer service industry for the past five years1. My most recent experience has been handling incoming calls in the high tech industry2. One reason I particularly enjoy this business, and the challenges that go along with it, is the opportunity to connect with people3. In my last job, I formed some significant customer relationships resulting in a 30 percent increase in sales in a matter of months4."

รูปแบบของการตอบในส่วนแรก จะพูดถึง 4 จุดสำคัญ
1-      สรุปประสบการณ์งานที่ผ่านมา (มีประสบการณ์ในด้านการบริการลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมมากว่า 5 ปี
2-      ประสบการณ์ล่าสุด (เมื่อไม่นานมานี้มีประสบการณ์ด้านการจัดการโทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามายังกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง)
3-     สิ่งที่ทำให้เราสนุกกับงาน (ชอบมากที่ได้ทำงานในการติดต่อกับผู้คน)
4-      สิ่งที่ทำให้บริษัทที่เคยทำงานอยู่ได้ประโยชน์ (จากการที่เราดูแลลูกค้าดีมากส่งผลให้แผนกมียอดขายเพิ่มขึ้น 30% ภายในไม่กี่เดือน)

     ส่วนที่ 2:  strengths
"My real strength is my attention to detail1. I pride myself on my reputation for following through and meeting deadlines2. When I commit to doing something, I make sure it gets done, and on time."

รูปแบบของการตอบในส่วนแรก จะพูดถึง 2 จุดสำคัญ
1-      จุดเด่นแรกในการทำงานของคุณ (การใส่ใจในรายละเอียด) [และนี่เป็นสิ่งสำคัญในการบริการลูกค้า]
2-      จุดเด่นที่สอง (ติดตามงาน และทำให้เสร็จทันตามกำหนดงาน)

     ส่วนที่ 3: บทสรุป ที่บ่งบอกถึงสิ่งที่คุณอยากทำในปัจจุบัน(ที่เกี่ยวกับงาน)
"What I am looking for now is a company that values customer relations1, where I can join a strong team and have a positive impact on customer retention and sales2.

สรุปด้วยจุดสำคัญเพียงจุดเดียว และขยายความเพิ่มเติม
1-      กำลังมองหาบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการบริษัทและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
2-      ขยายความว่า เพราะเหตุนั้น คุณก็เลยอยากมีส่วนร่วมกับทีมที่แข็งแกร่ง และทีมที่ส่งผลดีต่อการรักษาลูกค้าไว้และการขาย

สคริ้ปท์ที่ดีก็ไม่จำเป็นต้องมีคำต่อคำที่คุณเตรียมจะพูด เพราะตอนคุณสัมภาษณ์มันจะกลายเป็นท่องเอา แต่หากภาษาอังกฤษคุณยังไม่คล่อง คุณอาจเขียนเป็นแบบที่คุณอยากเตรียมเพื่อที่จะพูด และขีดเส้นใต้คำหรือจุดที่สำคัญๆ (keyword) เพื่อช่วยในการจำ และเนื่องจากคุณมีเวลาไม่มากนัก (อาจจะ 3-5 นาที) ที่คุณจะมีโอกาสพูดในสิ่งที่อยากพูด เพราะฉะนั้น การเขียนสคริ้ปท์จะช่วยให้คุณไม่ออกนอกเรื่อง และจะไม่ลืมในสิ่งสำคัญๆที่ควรพูด 

3.  Practice
อย่าลืมว่า การตอบคำถามสัมภาษณ์งาน ไม่ควรท่อง เด็ดขาด หากคุณยังต้องเตรียมไว้ก่อน ก็ควรฝึกให้-เนียน-นะคะ พยายามพูดให้เป็นธรรมชาติไว้ ขอแนะนำสั้นๆว่า ควรจะฝึกหน้ากระจกแล้วตอบคำถามกับตัวเอง อาจจะเอาโทรศัพท์สมาร์ทโฟนมาอัดคลิปตอนเราพูดไว้ก็ได้ เสร็จแล้วก็นำมาดู วิเคราะห์ว่ามีอะไรที่เราควรปรับปรุงไหมเรื่องของการพูดและการใช้ภาษา หรืออาจให้คนที่บ้านช่วยดูตอนคุณซ้อม และออกความเห็นก็ได้ค่ะว่าเป็นอย่างไร
 
Info. Cr: http://career-advice.monster.com/job-interview/interview-questions/intreview-tell-me-about-yourself/article.aspx
Photo Cr.: http://laurieburtontraining.com/how-to-get-that-job-youre-due-make-an-entrance-and-an-exit/


==================================
15 ภาษากายที่ควรหลีกเลี่ยงในการสัมภาษณ์งาน และการพบปะทางธุรกิจ
http://www.krubowsunida.blogspot.com/2016/02/15.html

















==================================
ติดตามเพิ่มเติมการตอบคำถามสัมภาษณ์งาน พร้อมบทวิเคราะห์ และคำตอบได้ที่ 
www.krubowsunida.blogspot.com

Contact:
fb: eng.interview เพจชื่อ สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษให้ได้งาน
email: krubowsunida@gmail.com